เรื่อง การปรับประยุกต์ใช้สื่อการเรียนด้วยบัญชีคำพื้นฐานในการอ่าน การเขียน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และ
คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง มีพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทย ซึ่งนักเรียนบางส่วนมีการอ่านคำ เขียนคำ ยังไม่ถูกต้อง
ตามหลักการอ่านซึ่งนักเรียนมีการอ่านออกเสียงคำผิด เนื่องมาจากการเติมตัวสะกดและใส่วรรณยุกต์ผิดตัว และเมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงแล้วก็จะทำให้นักเรียนเขียน ผิดไปตามรูปคำที่ออกเสียง ครูผู้สอนจึงได้ใช้วิธีการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยปรับประยุกต์ใช้บัญชีคำพื้นฐาน เพื่อแก้ปัญหาด้าน
การอ่าน การเขียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการสอบ O-NET ให้สูงขึ้น ในวิชาภาษาไทย จึงนำมาสู่กระบวนการทำวิจัย เรื่อง การแก้ปัญหาการอ่านสะกดคำ เพื่อทักษะการอ่านและการเขียน โดยการใช้บัญชีคำพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1. วิเคราะห์ปัญหา ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แกนกลาง และหลักสูตรนักเรียนต้องรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อออกแบบหน่วยตาม
ตัวชี้วัด
2. ศึกษาการจัดการเรียนรู้ การทำสื่อการอ่าน การเขียน
ด้วยบัญชีคำพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3. ออกแบบสื่อการอ่าน การเขียน ด้วยบัญชีคำพื้นฐาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4. จัดทำสื่อการเรียนรู้ การอ่าน การเขียน ด้วยบัญชีคำ
พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามที่ได้ออกแบบ
5. นำสื่อไปจัดการเรียนรู้ การอ่าน การเขียน ด้วยบัญชี
คำพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
6. นำผลจากการใช้สื่อมาสรุป เพื่อหาข้อมูลในการปรับปรุง
แก้ไข และพัฒนาสื่อการสอน ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
7. นำผลการใช้สื่อการอ่าน การเขียน ด้วยบัญชีคำพื้นฐาน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาบันทึกข้อมูลคะแนนในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อประเมิน
การเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล
วัดเหมืองแดง สามารพัฒนาการอ่าน และการเขียนได้ดีขึ้น ตรงตามสมรรถนะของผู้เรียนในหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และการสอบ O-NET วิชาภาษาไทยสูงขึ้น 2.94 %
สถิติผลการทดสอบ O-NET
ปีการศึกษา 2565 = 55.72
ปีการศึกษา 2566 = 58.66
เทียบผลการทดสอบจากปี 2565
ปีการศึกษา 2566 ผลคะแนนเพิ่มขึ้น = 2.94 %